รักเหมาขอรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ 5 โรคหน้าร้อนปี 2566  พร้อมวิธีป้องกัน ฮีทสโตรก หรือโรคลมแดด หน้าไซต์ก่อสร้าง มาฝากพี่ ๆ ผู้รับเหมาทุกคนกันค่ะ

4 โรคหน้าร้อน ปี 2566 พร้อมวิธีป้องกันฮีทสโตรก โรคลมแดด หน้าไซต์ก่อสร้าง

หลายคนคงเริ่มรู้สึกถึงอากาศอันร้อนระอุที่เป็นสัญญาณของหน้าร้อนกันแล้ว ซึ่งอากาศแบบนี้ ไม่เพียงทำให้รู้สึกเครียด อ่อนเพลีย ขาดน้ำ หรือไม่สบายตัวเท่านั้น แต่ยังทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น อีกทั้งยังเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ที่หากรักษาอนามัย และความสะอาดไม่เพียงพอ ยังส่งผลให้เกิดโรคหน้าร้อนอีกหลายโรคตามมา ที่อาจเป็นอุปสรรคขัดขวางทำงาน หรือการก่อสร้างหน้าไซต์งานอีกด้วย

บทความนี้รักเหมาจึงขอรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ 5 โรคหน้าร้อนปี 2566  พร้อมวิธีป้องกัน ฮีทสโตรก หรือโรคลมแดด หน้าไซต์ก่อสร้าง มาฝากพี่ ๆ ผู้รับเหมาทุกคนกันค่ะ

โรคหน้าร้อน อันตรายที่มาพร้อมอุณหภูมิที่ร้อนระอุ

นายแพทย์สุระ  วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า ประเทศไทยในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายนของทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีนี้ หลายพื้นที่จะมีอากาศร้อนมากกว่าปีที่ผ่านมา โดยอุณหภูมิอาจสูงถึง 40-43 องศาเซลเซียส ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงอุณหภูมิที่สูงขึ้นเท่านั้น แต่ช่วงนี้ผู้คนมักเจ็บป่วยง่ายขึ้นจากน้ำดื่ม หรืออาหารที่ไม่สะอาด รวมถึงอาหารเสียง่ายอีกด้วย ดังนั้นนอกจากเรื่องความปลอดภัยในการทำงานเเล้ว ยังควรให้ความสำคัญเรื่องอนามัยที่ถูกหลักของอาหาร และน้ำดื่มที่หน้าไซต์งานกันด้วยนะคะ

  1. โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute Diarrhea)

โรคหน้าร้อนยอดฮิตที่เกิดจากการรับประทานอาหาร หรือน้ำที่มีเชื้อแบคทีเรีย โดยจะมีอาการถ่ายเหลวหลายครั้ง ถ่ายเป็นน้ำ หรือถ่ายเป็นมูกปนเลือด เป็นโรคที่อาจดูเล็กน้อยไม่ร้ายแรง แต่หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องเป็นเวลานาน ร่างกายจะสูญเสียน้ำ และเกลือแร่ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย หน้ามืด และในบางรายอาจรุนแรงมากจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

  1. อหิวาตกโรค (Cholera)

เป็นโรคหน้าร้อนที่เกิดจากเชื้ออหิวาตกโรค ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อจากอาหาร หรือน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ ซึ่งหากติดเชื้อโรคนี้จะทำให้ร่างกายถ่ายอุจจาระเป็นน้ำคราวละมากๆ โดยไม่มีอาการปวดท้อง จนมีอาการกระหายน้ำอ่อนเพลีย ชีพจรเต้นเร็ว ขาดน้ำ และเกลือแร่อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจส่งผลเกิดภาวะช็อก หมดสติจากการเสียน้ำ และรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

  1. โรคบิด (Dysentery)

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรืออะมีบาที่สามารถติดต่อได้ผ่านการรับประทานอาหาร ผักดิบ รวมถึงน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค ซึ่งหากติดเชื้อมักจะมีไข้ ปวดท้องแบบปวดเบ่ง ขับถ่ายอุจจาระบ่อย และอาจทำให้อุจจาระมีมูก หรือมูกปนเลือดได้อีกด้วย

ไม่เพียงแค่ 3 โรคที่กล่าวมา แต่ความร้อนจากแสงแดดยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง ได้แก่ กรรมกรก่อสร้าง ตำรวจจราจร เกษตรกร คนสวน ประมง พนักงานจัดส่ง และพนักงานรักษาความปลอดภัย เป็นต้น โดยการทำงานกลางแดด หรือสภาพอากาศที่ร้อนจัดเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดอาการเล็กน้อย เช่น ปวดหัว วิงเวียน เกิดผื่น ตะคริวจากความร้อน ไปจนถึงอาการรุนแรงอย่าง โรคลมแดด หรือฮีทสโตรกได้

  1. โรคลมแดด หรือฮีทสโตรก

ภัยร้ายประจำหน้าร้อนที่อันตรายถึงชีวิตจากการใช้เวลากลางสภาพอากาศที่ร้อนระอุ ดังนั้นข้อมูล และวิธีการดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับพี่ ๆ ผู้รับเหมา และผู้ที่ทำงานกลางแจ้งทุกคน เพื่อค้นหาวิธีการป้องกัน และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม เมื่อต้องทำงานกลางแดดจัดเป็นเวลานานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากบุคคลเหล่านี้อาจมีอาการอ่อนเพลีย จนเกิดการวูบ ทำให้เกิดอันตรายจากการพลัดตกจากที่สูงในไซต์งานก่อสร้าง หรือสถานที่ปฏิบัติงานได้

รู้ลึก รู้จริง โรคลมแดด หรือฮีทสโตรก คืออะไร

สำหรับพี่ ๆ คนไหนที่ยังไม่คุ้นเคยว่า โรคลมแดด หรือฮีทสโตรก นั้นคืออะไร วันนี้ รักเหมามีสาระข้อมูลดี ๆ มาฝากกันค่ะ โดยโรคลมแดด หรือฮีทสโตรก คือ โรคที่เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป จนทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ซึ่งส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือด และระบบสมอง ที่หากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง และทันเวลา อาจทำให้หัวใจหยุดเต้นจนถึงแก่ชีวิตได้ 

เช็กลิสต์อาการเบื้องต้นที่สังเกตได้ ของโรคลมแดด หรือฮีทสโตรก

  • เมื่อยล้า อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หน้ามืด
  • ตัวร้อนจัด จากอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • รูขุมขนปิด เหงื่อไม่ออก
  • สับสนมึนงง พูดช้า เห็นภาพหลอน
  • ตัวสั่น หายใจเร็ว กล้ามเนื้อเป็นตะคริว
  • ผิวหนังเป็นสีแดง และแห้ง
  • บางรายอาจมีอาการชักกระตุก และหมดสติ

วิธีป้องกันโรคลมแดด หรือฮีทสโตรก เมื่อต้องทำงานกลางแจ้ง หรือหน้าไซต์ก่อสร้าง

  • การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากความเหนื่อยล้า อาจทำให้เพลียแดด และเป็นลมพลัดตกจากที่สูงได้
  • พกน้ำดื่มสะอาดติดตัว และจิบน้ำบ่อย ๆ ในระหว่างที่ปฏิบัติงานกลางแจ้ง  
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์   
  • ควรสลับทำงาน และมีเวลาพักเป็นระยะ โดยนั่งพักในสถานที่ที่มีอากาศเย็น มีลมพัดผ่าน
  • สวมเสื้อผ้าที่สะอาด สีอ่อน เบาสบาย ระบายอากาศได้ดี และเปลี่ยนชุด หากเสื้อผ้าที่ใส่ชุ่มเหงื่อ    
  • ช่วยกันสังเกตอาการ และดูแลคนงานรอบข้าง เมื่อมีอาการผิดปกติจะได้ปฐมพยาบาลได้ทัน  
  • ควรมีหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของสถานพยาบาล เช่น 1669 ไว้กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

เมื่อเป็นโรคลมแดด ควรดูแลผู้ป่วยเบื้องต้นอย่างไร

  • รีบตามแพทย์ หรือโทร 1669 หลังจากนั้นให้พาผู้ป่วยหลบเข้าที่ร่ม หรือห้องมีความเย็นก่อน
  • จัดผู้ป่วยให้นอนราบ ยกเท้า และสะโพกขึ้นสูง
  • ถอดเสื้อผ้าออกเท่าที่จำเป็นเพื่อระบายความร้อน
  • ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตามตัว หรือวางถุงน้ำแข็งที่คอ รักแร้ และขาหนีบ
  • หากผู้ป่วยหมดสติให้จับนอนตะแคงเพื่อป้องกันโคนลิ้นอุดทางเดินหายใจ
  • รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว

รักเหมาขอเป็นกำลังใจให้พี่ ๆ ทุกคนที่ต้องทำงานกลางแจ้งในหน้าร้อนนี้ ด้วยความห่วงใยจากเรา หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อพี่ ๆ ผู้รับเหมา และผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้ง หรือหน้าไซต์งาน ได้ไม่มากก็น้อยนะคะ อย่าลืมดูแลรักษาสุขภาพให้ปลอดภัยจากโรคหน้าร้อนกันด้วยนะ

รักเหมา แพลตฟอร์มจัดซื้อวัสดุก่อสร้างออนไลน์

ทำความรู้จัก “รักเหมา” แพลตฟอร์มจัดซื้อวัสดุก่อสร้างออนไลน์ ที่จะเปลี่ยนการจัดซื้อให้เป็นเรื่องง่าย ช่วยผู้รับเหมาและฝ่ายจัดซื้อให้เข้าถึงร้านค้าวัสดุก่อสร้างกว่า 200 ร้านค้าทั่วไทยอย่างไร้ขีดจำกัด ด้วยระบบ E-Procurement ที่จะเข้ามายกระดับงานจัดซื้อให้มืออาชีพ ได้ราคาไว ของครบ จบทุกสินค้าโครงการ

Related Posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *