SCB EIC คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมก่อสร้างภาครัฐในปี 2567 จะเติบโตถึง 2% และภาคเอกชน อีก 3% แตะ 1.4 ล้านล้านบาท แนะนำผู้รับเหมาเร่งปรับกลยุทธ์ – คุมต้นทุน และให้ความสำคัญกับการ “ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์” พร้อมบริหารสภาพคล่องให้ดี
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB EIC ได้คาดการณ์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้างในปี 2567 ทั้งภาครัฐ และเอกชน ว่าการก่อสร้างของภาครัฐมีแนวโน้มขยายตัว 2% จากไตรมาสก่อนหน้า ขึ้นไปแตะถึง 810,000 ล้านบาท โดยปีนี้จะเริ่มมีการประมูลโครงการใหญ่เตรียมนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เซ็นอนุมัติ ซึ่งในปี 2024 นี้ รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการปรับปรุงระบบคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โดยเร่งพัฒนาการคมนาคมขนส่งด้านรถไฟที่เชื่อมโยงถึงการคมนาคมอื่นๆ แต่ทั้งนี้อุตสาหกรรมก่อสร้างในภาครัฐก็ยังคงต้องเผชิญหน้ากับปัจจัยท้าทายด้านความล่าช้าในการจัดทำงบประมาณประจำปีอยู่ ซึ่งจะกระทบมูลค่าการก่อสร้างภาครัฐในไตรมาส 1 ของปี 2567 ถึงไตรมาส 2 และคาดว่าจะสามารถเร่งเบิกจ่ายได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนั่นเอง
ขณะที่มูลค่าการก่อสร้างของภาคเอกชนในปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ 598,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าถึง 3% โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการขยายตัวของมูลค่าการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในกลุ่มคอนโดมิเนียม รวมถึงการขยายตัวของมูลค่าการก่อสร้างอาคารสำนักงาน พื้นที่ค้าปลีก และโรงงานอุตสาหกรรมด้วย
นอกจากนี้ ปัญหาหนี้ครัวเรือนกับราคาที่อยู่อาศัยปรับตัวสูงขึ้นยังทำให้เกิดความท้าทายสำหรับการเปิดตัวโครงการ และก่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มราคาระดับปานกลางลงมา รวมถึงยังต้องจับตาภาวะ Oversupply ที่อาจทำให้ต้องเลื่อน หรือยกเลิกโครงการอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ที่ไม่มีศักยภาพออกไป
อีกทั้งภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างยังต้องเผชิญกับความท้าทายในปี 2567 และในระยะปานกลาง ทั้งเรื่องต้นทุนการก่อสร้างที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงความเสี่ยงด้านสภาพคล่องทางการเงิน และแรงกดดันจากเทรนด์ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือ อาทิเช่น
-
เพิ่มโอกาสสร้างรายได้ และควบคุมต้นทุนก่อสร้าง – รับงานหรือเข้าประมูลงานก่อสร้างในหลากหลายประเภทมากขึ้น ระวังเรื่องการเข้าประมูลงานแบบแข่งขันด้านราคา และสั่งซื้อวัสดุก่อสร้างล่วงหน้าให้สอดคล้องกับความต้องการใช้
-
บริหารสภาพคล่องทางการเงิน – ด้วยการปรับสัดส่วนการรับงานภาครัฐ และเอกชนให้เหมาะสม รวมถึงควมคุมการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามแผน เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายได้ตามกำหนด
-
ลดการปล่อยคาร์บอน (CO2) – จัดหาวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลงทุนนำเทคโนโลยีก่อสร้างมาปรับใช้ นอกจากนี้ ยังต้องตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมที่มีผลมาจากการก่อสร้างมากขึ้นอีกด้วย
รักเหมา หวังว่าข้อมูลในบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับพี่ๆ ผู้รับเหมาในการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะเศรษฐกิจ และการเติบโตในปี 2024 นี้นะคะ สำหรับผู้รับเหมา-จัดซื้อ ที่กำลังมองหาตัวช่วยด้านการจัดซื้อวัสดุก่อสร้าง “แพลตฟอร์มรักเหมา” ช่วยเปรียบเทียบราคาได้ตรงใจ ควบคุม “ต้นทุนก่อสร้าง” ได้มากกว่าที่คิด
สมัครสมาชิกเพื่อขอราคาวัสดุก่อสร้างกับรักเหมา คลิกที่นี่เลย
อีกทั้งยังมาพร้อมเครดิตสินเชื่อป๋าสำหรับจัดซื้อวัสดุก่อสร้างบนแพลตฟอร์มรักเหมาโดยเฉพาะ มอบวงเงินสูงสุดถึง 1 แสนบาท สมัครได้ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ปัจจุบันนี้มีบริการใน 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่ได้เลย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB EIC และ ข่าวหุ้นธุรกิจ
Related Posts
จัดซื้อกับ “รักเหมา” ง่ายจริง ไม่มีหลอก ใช้จริง แจกจริงตลอดเดือน รับโค้ดลดสูงสุด 5,000 บาท โปรโมชั่น 1-31 ต.ค 66
จัดซื้อกับรักเหมา ง่ายจริง ไม่มีหลอก รับโค้ดลดสูงสุด 5,000.-* (เมื่อออกใบสั่งซื้อ 100,000.-/PO) โปรโมชั่น 1 – 31 ต.ค 2566 สมัครสมาชิกและขอราคาฟรี คลิกที่นี่ [...]
Oct
รักเหมา Buy Now VS รักเหมา E-Procurement: เลือกแพลตฟอร์มไหนให้ตอบโจทย์งานจัดซื้อของคุณ?
ในยุคดิจิทัลที่เกือบทุกอย่างสามารถทำได้ผ่านออนไลน์ รวมถึงการซื้อวัสดุก่อสร้าง ทำให้ผู้รับเหมาหรือฝ่ายจัดซื้อมีช่องทางในการจัดซื้อที่หลากหลายมากขึ้น โดยรักเหมา ได้เปิดตัวเว็บไซต์ใหม่ “รักเหมา Buy Now” แหล่งรวมวัสดุก่อสร้างสะดวกซื้อ ซึ่งในบทความนี้เราจะมาเปรียบเทียบให้ผู้รับเหมาและฝ่ายจัดซื้อ สามารถเลือกใช้ช่องทางการซื้อวัสดุก่อสร้างที่ตอบโจทย์กับความต้องการของพี่ๆ ทุกคนได้ ภาพรวมของแพลตฟอร์ม รักเหมา Buy [...]
Sep